วังตะไคร้ ตั้งอยู่ที่ตำบลหินตั้ง ใกล้กับน้ำตกนางรองอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 3049 วังตะไคร้เป็นของกรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ และหม่อมราชวงศ์หญิงพันธุ์ทิพย์บริพัตร เป็นอุทยานที่ได้รับการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ในเนื้อที่ 1,500 ไร่ มีถนนให้นำรถยนต์เข้าชมในบริเวณได้ เปิดรับนักท่องเที่ยวทั่วไปทั้งประเภทเช้าไปเย็นกลับ และประเภทค้างแรม
ธารน้ำร้อนบ่อคลึง ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2468 โดยนายประยูร โมนยะกุล ซึ่งปัจจุบันได้ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของตระกูล "โมนยะกุล" ซึ่งสถานที่แห่งนี้ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี มีความสะอาดน่าลงอาบเล่น เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย
นอกเหนือจากบริเวณธารน้ำที่ไหลไปรวมเป็นแอ่งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นบริเวณที่จัดไว้ให้สำหรับนักท่องเที่ยวได้ลงไปอาบแล้ว ยังมีบริเวณที่จัดไว้เป็นพิเศษซึ่งมีการปูกระเบื้องเหมือนให้มีลักษณะเหมือนสระว่ายน้ำ ดูแล้วน่าลงเล่นมากเลยครับ
บริเวณบ่อน้ำร้อนจะมีบริการนวดผ่อนคลายหลังจากลงไปแช่น้ำ และ ร้านอาหาร ให้นักท่องเที่ยวได้ฝากท้อง และ นั่งชมธรรมชาติภายในบริเวณบ่อน้ำร้อนด้วยครับ
บ่อคลึงเป็นธารน้ำร้อนธรรมชาติที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาตะนาวศรี จะมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี เป็นน้ำร้อนบริสุทธิ์ อุณหภูมิของน้ำประมาณ 120-136 องศาฟาเรนไฮต์ ในช่วงฤดูหนาวยามเช้าไอน้ำร้อนจะลอยกรุ่นเป็นหมอกสวยงาม มีบ่อน้ำร้อนและสระน้ำสำหรับอาบน้ำร้อนธรรมชาติ
น้ำตกถ้ำค้างคาว ของอุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอ ตาพระยา อำเภอวัฒนานคร อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่ามาเยือนมากแห่งหนึ่งเช่นกัน
"น้ำตกถ้ำค้างคาว" เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติปางสีดา โดยน้ำตกนั้นตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติถึงหลักกิโลเมตรที่ 22 เดินเท้าต่ออีกประมาณ 10 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาไป - กลับ 2 วัน 1 คืน
นอกจากนี้แล้ว น้ำตกถ้ำค้างคาว สายน้ำไหลตกลงมาเป็นทางยาวลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง บริเวณใต้ผาน้ำตกเป็นถิ่นอาศัยของฝูงค้างคาว จนเป็นที่มาของชื่อ และหากเดินทางไปจากน้ำตกถ้ำค้างคาว จะมีทางเดินไปน้ำตกลานแก้ว เป็นน้ำตกที่สวยงามด้วยสายน้ำที่ไหลตกกระแทกกับแผ่นหินเบื้องล่าง จนน้ำแตกกระเซ็นไปทั่วราวกับเกล็ดแก้ว
น้ำตกลงรู ธารน้ำบนลานหินทรายหลากไหลชั่วนาตาปี มีธรรมชาติเป็น ตัวกำหนดให้ พลังแห่งสายน้ำ ทำงานของมันไปในวัฏจักร แห่งกาลเวลา ความหมายของ สายน้ำบนลานหินทรายนี้ อาจไม่มีเรื่องราวแปลกประหลาด หากไร้ซึ่งก้อน กรวดทราย ที่พลังน้ำพัดเหวี่ยงหมุนวน สร้างหลุมกุมภลักษณ์ขึ้น ที่เหนือเพิงผา ใครจะเชื่อว่า หลุมกุมภลักษณ์ที่ทะลุ เพดานถ้ำจะกลาย เป็นสายน้ำที่ลอดทะลุลงมา เรียกขานว่า น้ำตกลงรู คู่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
น้ำตกจิ่วหลง หรือ น้ำตกเก้ามังกร นี้ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจาก อำเภอหลัวผิง 20 กิโลเมตร น้ำตกทั้งหมดยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เนื่องจากขึ้นตามภูเขา น้ำตกจึงกลายเป็นหลาย ๆ ชั้นตามขั้นบันได มีใหญ่มีเล็ก วิวทิวทัศน์แต่ละฤดูกาลจะไม่เหมือนกัน น้ำตกเก้ามังกรที่นี่ได้ชื่อว่ามีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามที่สุดทางภาคใต้ของเมืองจีน แล้วน้ำตกที่นี่มีขนาดใหญ่ที่สุด สูงประมาณ 56 เมตร ยาว 110 เมตร ได้ชื่อว่าน้ำตกมังกรวิเศษ แล้วอันดับที่ 2 สูง 43 เมตร กว้าง 39 เมตร ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกคู่รัก เพราะว่าหนุ่ม ๆ สาว ๆ ของชนกลุ่มน้อยที่นี่จะรวมตัวกันที่นี่
เมืองซิ่งยี่ ให้ ท่านชมวิถีชีวิตของชาวจีนซึ่งยังคงใช้วิถีชีวิตแบบสมัยโบราณ พร้อมชมทัศนียภาพสองข้างทางที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ
พร้อมนาขั้นบันได จากนั้นนำท่านชมความงามของภูเขาหมื่นยอด หรือ ว่านฟงหลิน ชมความงามและความมหัศจรรย์
ของภูเขาปิระมิดและขุนเขา นับหมื่นยอดที่ธรรมชาติ ได้สร้างสรรค์ได้อย่างลงตัว
น้ำตกพลิทไวซ์ โครเอเชียอยู่ ในอุทยาน แห่งชาติทะเลสาบพลิทไวซ์ : Plitvice Lakes National Park ตั้งอยู่ในดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ในส่วนของประเทศโครเอเชีย(Croatia) แม่น้ำโครานา(Korana) ทำให้เกิดทะเลสาบ 20 แห่งไหลผ่านหินปูนและหินชอล์ก ระหว่างทะเลสาบมีน้ำตกหลายแห่งและชั้นหลากหลายทีชวนมหัศจรรย์ หนึ่งในป่าไม้ที่มีอายุมากรุ่นสุดท้ายในยุโรป ภูมิประเทศเป็นที่มหัศจรรย์บ่งบอกถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ทะเลสาบถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ชั้นบนและชั้นล่าง
ธรรมชาติ ของอุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิทไวซ์ เป็นสถานที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาอย่างมหัศจรรย์ให้สัมผัสที่แตกต่างจากที่ อื่นทั่วโลก นักท่องเที่ยวจึงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การสร้างสรรค์รูปร่างหน้าตาของที่พักและ ทึ่งกับความงามของพื้นที่มาจากของธรรมชาติเองที่มีความแตกต่างและกลมกลืน ของรูปร่างและสีสันในแต่ละฤดูกาล หลากหลายเงื่อนไขพื้นฐานร่วมกันของลักษณะธรรมชาติ
การ เปลี่ยนของสภาพอากาศตามฤดูกาลระหว่างชายฝั่ง และเขตภาคพื้นทวีปมวลอากาศขนาดเล็กจำนวนมากทำให้เกิดฤดูร้อนแสนสบายและแสง แดด ขณะที่ส่วนอื่นยังคงเป็นฤดูหนาวต่อเนื่องไประยะยาวทั้งอากาศเย็นที่รุนแรง และหิมะจำนวนมาก มีพื้นที่ป่าไม้ที่กว้างใหญ่ซ้ำซ้อนในเขตพื้นที่อุทยาน บางส่วนของอุทยานถูกคุ้มครองเป็นพิเศษเป็นป่าสงวน พฤกษชาติถูกกำหนดเป็นลักษณะของป่ายุคแรกของโลก สถานที่และเงือนไขการความเป็นอยู่ที่หลากหลาย ทำให้เป็นไปได้ว่าจำนวนของชนิดของพืชและสัตว์น้ำและสัตว์บกในเขตพื้นที่ของ อุทยาน จะเจริญเติบโตต่อไปโดยไม่มีผลกระทบ
อุทยานแห่งนี้ได้จัดเป็น มรดกโลกขององค์การยูเนสโก(UNESCO) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979
บ่อเกลือโบราณบ้านบ่อหลวง อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว ที่ตั้งอยู่ใน ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยบ่อเกลือนั้นตั้งอยู่ห่างจากอำเภอบ่อเกลือ ไปประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันชาวบ้านยังทำอาชีพต้มเกลือขายอยู่
บ่อเกลือโบราณบ้านบ่อหลวง ตามหลักฐานทางธรณีวิทยาซึ่งสันนิษฐานได้ว่าในบริเวณนี้มีการตกตะกอนของน้ำทำเลในยุคเพอร์เนียน (280 ล้านปีมาแล้ว) ต่อกับยุคโทรแอสสิค(230 ล้านปีมาแล้ว)น่าจะมีชั้นเกลือหินใต้ดินหรือโดมเกลือหินอยู่ในบริเวณนี้
เมื่อมีการขุดบ่อก็อาจจะบังเอิญไปพบน้ำเค็มใต้ดินทำให้มีการผลิตเกลือจากบ่อน้ำเค็มเหล่านี้ การผลิตเกลือที่บ้านบ่อหลวง อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน มีการผลิตกันมาตั้งแต่ในสมัยประวัติศาสตร์ปรากฏชื่อครั้งแรกเมื่อมีการอ้างถึง “บ่อมาง”
เมื่อพระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ ยกทัพมาตีเมืองน่านใน ปี พ.ศ.1993 นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ อาทิ เครื่องถ้วย,ศิลาจารึก,พระพุทธรูป ช่วยยืนยันว่าชุมชนที่ผลิตเกลือที่บ้านบ่อหลวงเจริญรุ่งเรือง อนุมานว่าเป็นระยะที่ 1 เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 21
หลังจากนั้นไม่แน่ชัดว่ามีชุมชนที่ผลิตเกลือต่อมาหรือไม่ เนื่องจากบ้านเมืองในล้านนากำลังวุ่นวายเพราะอยู่ภายในอำนาจของพม่าและไม่พบหลักฐานทางโบราณคดียืนยันอย่างแน่ชัด หากแต่จากข้อมูลประวัติชาติพันธ์และประวัติศาสตร์บอกเล่าทำให้สันนิษฐานได้ว่าเกิดชุมชนในระยะที่ 2 ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 และกลุ่มชุมชนเหล่านี้เป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านบ่อหลวงในปัจจุบันน่าจะเป็นชาวไตลื้อ ที่อพยพมาจากแถบเมืองบ่อแฮทางตอนใต้ของสิบสองปันนา ซึ่งเป็นเมืองที่มีการผลิตเกลือสินเธาว์เป็นปริมาณมาก
เมืองน่าน เมื่อปี พ.ศ.2475 สามารถตักเกลือได้ปีละ 1,500 หาบ การผลิตเกลือที่บ้านบ่อหลวง หมู่ที่ 1 ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน เริ่มจากการผลิตเกลือที่บ้านบ่อหลวง เริ่มจากการตักน้ำเกลือจากบ่อนำมาต้มในโรงต้มที่ต้องปิดทึบทั้ง 4 ด้าน เพื่อกันลมเป็นการประหยัดเชื้อเพลิงและทำให้เม็ดเกลือเล็กละเอียด
เตาที่ใช้เป็นเตาดินทำจากดินดิบก่อเป็นรูปเตามีช่องใส่พื้นด้านหน้า รูระบายควันและความร้อน 2 ช่องด้านหลังวางกะทะต้มเกลือได้ 2 กะทะ กะทะที่ใช้เป็นกะทะเหล็กไม่มีหูจับ เส้นผ่าศูนย์กลางโดยเฉลี่ย 85 ซม. การต้มเกลือ 1 กะทะต้องใช้เวลาประมาณ 4 ชม. ได้เกลือกะทะละ 15 กก. รวม 30 กก. ต่อการต้ม 1 ครั้ง
การต้มเกลือจะต้องต้มทั้งวันทั้งคืน รวม 5 คืน 6 วัน ต่อหนึ่งกะทะ แล้วจึงล้างกะทะพักเตา เพราะถ้าต้มนานกว่านี้จะทำให้กะทะและเตาแตกได้ เชื้อเพลิงเป็นที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะต้องจ้างคนชักลากหาฟืนไว้ให้เพียงพอสำหรับการต้มในครั้งหนึ่งๆ หากผลิตพร้อมกันมาก ๆ ทำให้เกิดการแย่งชิงกันได้ ผลผลิตเกลือจากบ้านบ่อหลวงในปัจจุบันลดน้อยลงมากเมื่อเทียบกับการผลิตในอดีต เพราะความนิยมบริโภคเกลือทะเล เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการคมนาคมที่สะดวก
ปราสาทเมืองแขก เป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก หมู่ที่ 7 ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา แต่ปัจจุบันมีเพียงซากฐานอาคาร
ใน พ.ศ.2533 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งครั้งล่าสุด ได้พบโบราณวัตถุหลายชิ้น ที่สำคัญคือทับหลังรูปเทวดานั่งในซุ้มเหนือหน้ากาล มีสถาปัตยกรรมแบบเกาะแกร์ในศิลปะขอม ซึ่งเป็นยุคสมัยเดียวกับปราสาทโนนกู่ห่างกันประมาณ 500 เมตร
นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกที่ถูกนำมาก่อเป็นฐานประูตูซุ้มชั้นนอกระบุปี พ.ศ.1514 และพ.ศ.1517 นักโบราณคดีจึงสันนิษฐานจากหลักฐานที่พบทั้งหมดว่า ปราสาทแห่งนี้น่าจะเป็นศาสนสถาน ในคติฮินดูหรือพรามณ์ ที่สร้างขึ้นในราวพุูทธศตวรรษที่ 16 เพื่อประกอบพิธีกรรมถวายแด่พระศิวะ